[x] ปิดหน้าต่างนี้


  ไข้ไทฟอยด์
  การรักษาไข้ไทฟอยด์


  ไทฟอยด์ หรือไข้ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อยเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi(ซาโมเนลลา ไทฟี) ทางการกินทำให้เกิดอาการไข้สูง, ท้องร่วง, ปวดหัว, ปวดท้อง หากได้รับการรักษาอาการจะดีขึ้นภายใน 2อาทิตย์ แต่ถ้าไม่รักษาอาจมีอาการุนแรง และ 20%ของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิตได้



  การรักษา

  การรักษาจะใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียตัวใดตัวนึงดังต่อไปนี้(ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์)

  1.Co-trimoxazole ให้ครั้งละ 2เม็ดวันละ 2ครั้งหลังอาหารเช้าเย็น

  2.Amoxicillin ให้กินครั้งละ 1 เม็ดขนาด 500mg วันละ 4ครั้ง หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอนโดยในเด็กจะให้ขนาดยา 50mg/น้ำหนักตัว 1กิโลกรัม นาน14 วัน

  3.Ciprofloxacin ส่วนใหญ่แพทย์จะจ่ายเมื่อพบว่าเชื้อแบคทีเรียดื้อต่อยาอื่นๆ โดยให้ขนาดยา 500mg ให้กินครั้งละ 1เม็ดวันละ 2ครั้ง เช้า เย็น หลังอาหาร นาน 14 วัน

  4.การให้สารน้ำเกลือแร่ และการรักษาตามอาการเช่นให้ยาลดไข้ พาราฯ และให้เกลือแร่แก่ผู้ที่มีอาการท้องร่วง

  5.ในผู้ป่วยบางรายที่หายจากโรคแต่ยังมีเชื้อแบคทีเรียหลบอยู่ในร่างกาย จะกลายเป็นพาหะของโรคต้องใช้ยา ต่อเนื่องนาน 4สัปดาห์(ก่อนได้รับยาต้องตรวจทางห้องปฎิบัติการก่อน)



  


    โรคนี้เป็นโรคที่รักษาให้หายได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เสียชีวิตได้โดยอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 10-20% แต่หากรักษาจะมีอัตราการเสียชีวิตแค่ 1%




  อาการของไข้ไทฟอยด์

  อาการเด่นของโรคคือ

  1.มีไข้ต่ำๆก่อนแล้วค่อยๆไต่ระดับ สูงขึ้นในแต่ละวันโดยเฉพาะเวลางกลางคืนไข้อาจจะสูงได้ถึง 40.5 องศาเซลเซียส และจะหายไปในตอนเช้า

  2.ไข้จะคงที่เมื่อมีไข้ผ่านไป 7วันโดยจะเฉลี่ยนประมาณ 39-40องศาเซลเซียส

  3.อาการจะค่อยเป็นค่อยไปเริ่มจากปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัว เบื่ออาหาร เพลีย คล้ายไข้หวัดใหญ่ แต่ไม่มีน้ำมูก และอาจมีอาการไอเล็กน้อย 

  4.บางรายอาจมีอาการท้องผูก แต่บางรายอาจท้องเสีย

  5.อาเจียน

  6.หากไม่ได้รับการรักษาอาการไข้อาจอยู่นานถึง 3สัปดาห์

  7.อาจมีผื่นแดงเกิดบริเวณลำตัวเรียกว่า Rose spots มักพบหลังมีไข้ราวๆ 5วัน แต่ไม่ได้พบในทุกคน

  8.อาจพบม้าม ตับโตได้หากเป็นเรื้อรัง



  อาการแทรกซ้อนที่อาจเจอได้

  หากปล่อยไว้ไม่ได้ทำการรักษามักพบอาการแทรกซ้อนได้หลายๆจุด โดยส่วนมากจะพบหลังสัปดาห์ที่ 3โดยมากพบอาการลำไส้อักเสบ ลำไส้เล็กทะลุ อุจจาระเป็นเลือดสดๆ หากไม่ทำการรักษาอาจส่งผลระยะยาวให้มีอาการทางระบบประสาทได้เช่นประสาทหลอน ซึมเศร้า



  การแยกโรค

  เนื่องจากไทยฟอยด์เป็นโรคนึงที่มีไข้สูงคล้ายกับหลายๆโรคเช่น ไข้หวัดใหญ่, ฉี่หนู, ไข้จับสั่น, แพทย์จึงจำเป็นต้องซักประวัติและตรวจทางห้องปฎิบัติการอย่างละเอียดเพื่อการรักษาที่แม่นยำ



  การป้องกันโรค

  1.กินอาหารที่สะอาด ปรุงสุกแล้ว

  2.ดื่มน้ำสะอาดผ่านการต้ม การกลั่น ไม่ดื่มน้ำคลอง น้ำบ่อตื้นๆ น้ำแข็งที่ไม่สะอาด

  3.ผักและผลไม้ควรล้างให้สะอาดเพราะอาจปนเปื้อนเชื้อจากปุ๋ยคอกได้ง่ายๆ

  4.มีสุขลักษณะที่ดี เช่นการใช้ส้วมซึม, ไม่ทิ้งสิ่งปฎิกูลลงแหล่งน้ำสาธารณะ

  5.การฉีดวัคซีนในบุคคลที่มีความเสี่ยง เช่นบุคคลากรทางการแพทย์, นักวิจัยที่ทำงานกับเชื้อ Salmonela typhi หรือ คนที่เดินทางไปประเทศที่มีโรคระบาด



  Credit pic: www.thehealthsite.com

  ขอบคุณข้อมูลจาก wiki


 
  โดย : ดร.สุ   เข้าชม : 265 ครั้ง
วันที่ : ศุกร์ ที่ 15 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562
 


    กำลังแสดงหน้าที่ 1  |  1





Re หัวข้อ :
รูปประกอบ : Limit 100 kB
รายละเอียด
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :


ข่าวประชาสัมพันธ์
 
ฐาน Salary_Web เดือนมกราคม 2567
ฐาน Salary_Web เดือนมกราคม 2567 ฐาน Salary_Web เดือนมกราคม 2567
ฐาน Salary_Web เดือนกุมภาพันธ์ 2567
ฐาน Salary_Web เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ฐาน Salary_Web เดือนกุมภาพันธ์ 2567
ฐาน Salary_Web เดือนมีนาคม 2567
ฐาน Salary_Web เดือนมีนาคม 2567 ฐาน Salary_Web เดือนมีนาคม 2567
ฐาน Salary_Web เดือนเมษายน 2567
ฐาน Salary_Web เดือนเมษายน 2567 ฐาน Salary_Web เดือนเมษายน 2567
ฐาน SALARY_WEB ประจำเดือนธันวาคม 2566
ฐาน SALARY_WEB ประจำเดือนธันวาคม 2566 ฐาน SALARY_WEB ประจำเดือนธันวาคม 2566
ฐาน SALARY_WEB ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566
ฐาน SALARY_WEB ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 ฐาน SALARY_WEB ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566
Tag Cloud
 
ไข้ไทฟอยด์-เว็บบอร์ด กระดานถาม-ตอบ
Copyright© 2011 All rights reserved. Powered by : maxsite 1.10
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33