[x] ปิดหน้าต่างนี้


  ยาเสพติด
   ยาเสพติด

ยาเสพติด

สุขภาพ

 

 

ตอนนี้รู้กันดีอยู่แล้วว่า โลกสังคมออนไลน์ นั้นมันรวดเร็วซะเหลือเกิน ไม่ว่าจะเม้น จะแชร์ต่างๆ นาๆ มีทั้งเรื่องการทำความดี-ความชั่ว มีให้เห็นกันรวดเร็วมากๆ อย่างเช่น กรณีสดๆ ร้อนๆ ที่มีหญิงสาวให้เด็กชายซึ่งอายุเพียงไม่กี่ขวบ ได้สอนให้ทดลองสารเสพติดชนิดหนึ่ง! คลิปนี้ทำให้คนไทยแชร์คลิปกันอย่างรวดเร็ว?และ รุมว่าหญิงสาวคนนี้อย่างรุนแรง! ว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพื่อนๆบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่า สารเสพติด นั้นมีโทษอย่างไร มีกี่ประเภท teen.mthai ก็เลย ยกตัวอย่างให้เพื่อนๆได้อ่าน เป็นเกร็ดความรู้?กันคะ ^^

 

ทางที่ดีอย่าไปอยากรู้ อยากลอง ในสิ่งที่เรารู้ดีอยู่แล้วว่ามัน “อันตราย” ลองง่ายแต่เลิกยากนะจ๊ะ!!

 

10 สารยาเสพติดอันตราย teen.mthaiimages (2)10 สารยาเสพติดอันตราย

1. สารยาเสพติดอันตราย?เฮโรอีน (Heroin)?

เฮโรอีนเป็นยาเสพติดที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี จากปฏิกิริยาระหว่างมอร์ฟีนกับสารเคมีบางชนิด

เช่น อาเซ-ติคแอนไฮไดรด์ (Aceticanhydride) หรือ อาเซติลคลอไรด์ (Acetylchloride) หรือเอทิลิดีนไดอาเซเตท?(Ethylidinediacetate)

เฮโรอีนออกฤทธิ์แรงกว่ามอร์ฟีนประมาณ 4-8 เท่า และออกฤทธิ์แรงกว่าฝิ่น ประมาณ?30-90 เท่า

โดยทั่วไปเฮโรอีนจะมีลักษณะเป็นผงสีขาว สีนวล หรือสีครีม มีรสขม ไม่มีกลิ่น

เฮโรอีนที่แพร่ระบาดในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

 

1. เฮโรอีนผสม หรือเรียกว่าเฮโรอีนเบอร์ 3 หรือไอระเหย เป็นเฮโรอีนที่มีความบริสุทธิ์ต่ำ เนื่องจากมีการผสมสารอื่น

เข้าไปด้วย เช่น ผสมสารหนู สตริกนิน ยานอนหลับ กาเฟอีน แป้ง น้ำตาลและอาจผสมสี เช่น สีม่วงอ่อน สีชมพูอ่อน

สีน้ำตาล อาจพบในลักษณะเป็นผง เป็นเกล็ด หรืออัดเป็นก้อนเล็ก ๆ มีวิธีการเสพโดยการสูดเอาไอสารเข้าร่างกาย

จึงเรียกว่า “ไอระเหย” หรือ “แคป”

 

2. เฮโรอีนเบอร์ 4 เป็นเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ที่มีความบริสุทธิ์สูง มีลักษณะเป็นผงละเอียด หรือเป็นเม็ดคล้ายไข่ปลา

หรือพบในลักษณะอัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้า มักมีสีขาวหรือสีครีม ไม่มีกลิ่น มีรสขม เป็นที่รู้จัดทั่วไปว่า “ผงขาว”

มักเสพโดยนำมาละลายน้ำและฉีดเข้าร่างกาย หรือผสมบุหรี่สูบ

 

ฤทธิ์ในทางเสพติด

 

เฮโรอีนออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกายอย่างรุนแรง

มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดตามข้อ ปวดสันหลัง ปวดบั้นเอว ปวดหัวรุนแรง มีอาการจุกแน่นในอกคล้ายใจจะขาด อ่อนเพลียอย่างหนัก หมดเรี่ยวแรงมีอาการหนาว ๆ ร้อน ๆ อึดอัดทุรุนทุราย นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย

บางรายมีอาการชักตาตั้ง น้ำลายฟูมปาก ม่านตาดำหดเล็กลง ใจคอหงุดหงิดฟุ้งซ่าน มึนงง หายใจไม่ออก ประสาทเสื่อม?ความจำเสื่อม

ผู้เสพติดเฮโรอีนที่ติดเชื้อ HIV ก็จะเป็นผู้แพร่ระบาด HIV เนื่องจากการจับกลุ่มใช้เข็มฉีดยาร่วมกันหรือ?ในบางครั้งก็มีเพศสัมพันธ์ร่วมกัน โดยไม่ได้ป้องกัน

โทษทางกฎหมาย

 

จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

2.?สารยาเสพติดอันตราย ยาบ้า (Amphetamine)?

 

ยาบ้า เป็นชื่อที่ใช้เรียกยาเสพติดที่มีส่วนผสมของสารเคมี ประเภทแอมเฟตามีน (Amphetamine)

ยาบ้า จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนขนาดเล็ก?มีสีต่างๆ กัน เช่น สีส้ม สีน้ำตาล

มีสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนเม็ดยา เช่น ฬ, M, PG, WY สัญลักษณ์รูปดาว เป็นต้น

ฤทธิ์ในทางเสพติด :

 

ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย

เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายในระยะแรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยา จะรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ประสาทล้าทำให้การตัดสินใจช้า และผิดพลาด เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้

ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้สมองเสื่อม เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ?เป็นบ้าอาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ หรือในกรณีที่ได้รับยาในปริมาณมาก (Overdose) จะไปกดประสาท และระบบการหายใจทำให้หมดสติ และถึงแก่ความตายได้

โทษทางกฎหมาย

 

จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

10 สารยาเสพติดอันตราย teen.mthaiimages

3. สารยาเสพติดอันตราย?ยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy)

ยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy) เป็นยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน จะแตกต่างกันบ้างในด้านโครงสร้างทางเคมี

ลักษณะ?ของยาอี มีทั้งที่เป็นแคปซูลและเป็นเม็ดยาสีต่าง ๆ แต่ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเม็ดกลมแบน?ผิวเรียบ และปรากฏสัญลักษณ์บนเม็ดยาเป็นรูปต่าง ๆ เช่น กระต่าย ฯลฯ

ฤทธิ์ในทางเสพติด?

 

จะออกฤทธิ์ภายในเวลา 45 นาที และฤทธิ์ยา?จะอยู่ในร่างกายได้นานประมาณ 6-8 ซม. แพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบเที่ยวกลางคืน

ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทในระยะสั้น ๆ จากนั้นจะออกฤทธิ์หลอนประสาท มีอาการติดยาทางจิตใจ ไม่มีอาการขาดยา?ทางร่างกาย เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ระบบประสาทการรับรู้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด?(Psychedelic) ทำให้การได้ยินเสียงและการมองเห็นแสงสีต่าง ๆ ผิดไปจากความเป็นจริง เคลิบเคลิ้ม ควบคุมอารมณ์ไม่ได้

โทษทางกฎหมาย

 

จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

4. สารยาเสพติดอันตราย?โคเคน (Cocaine) :

โคเคน หรือ โคคาอีนเป็นยาเสพติด ที่สกัดได้จากใบของต้นโคคา??ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ลักลอบปลูกมากในประเทศแถบอเมริกาใต้ เช่น เปรู โบลิเวีย และโคลัมเบีย เป็นต้น

โคเคนมีชื่อเรียกในกลุ่ม?ผู้เสพว่า COKE, Snow, Speed Ball, Crack

โคเคนที่พบในประเทศไทย มี 2 ชนิด ได้แก่?1. โคเคนชนิดผง มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว รสขม ไม่มีกลิ่น?2. โคเคนรูปผลึกเป็นก้อน (Free base, Crack)

ฤทธิ์ในทางเสพติด

 

โคเคนออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับวิธีการและปริมาณที่เสพ มีอาการทาง?จิตใจ อาจมีอาการขาดยาทางร่างกายแต่ไม่รุนแรง หัวใจเต้นแรง ความดันโลหิตสูง กระวนกระวาย ตัวร้อนมีไข้?นอนไม่หลับ มีอาการซึมเศร้า ผนังจมูกขาดเลือด ทำให้เยื่อบุโพรงจมูกฝ่อ ขาดหรือทะลุ สมองถูกกระตุ้นอย่างรุนแรง?ทำให้เกิดอาการชักมีเลือดออกในสมอง เนื้อสมองตายเป็นบางส่วน หัวใจถูกกระตุ้นอยู่เสมอ กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมลง?ทีละน้อยจนหัวใจบีบตัวไม่ไหวทำให้หัวใจล้มเหลว ผลจากการเสพเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดอาการโรคจิตซึมเศร้า

โทษทางกฎหมาย

 

จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

10 สารยาเสพติดอันตราย teen.mthaip75. สารยาเสพติดอันตราย?ฝิ่น (Opium)

 

ฝิ่นเป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมาย ซึ่งประกอบด้วย โปรตีน?เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์เป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดให้โทษ?ที่ร้ายแรง และเป็นยาเสพติดที่เป็นต้นตอของยาเสพติดร้ายแรง เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และโคเคอีน มีการลักลอบปลูกฝิ่น?มากทางภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณแนวพรมแดน ที่เรียกว่า “สามเหลี่ยมทองคำ”

ฤทธิ์ในทางเสพ?

 

ฝิ่นออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกาย หากเสพเกินขนาด?จะทำให้กดระบบหายใจทำให้เสียชีวิต จิตใจเลื่อนลอย ง่วง ซึม แก้วตาหรี่ พูดจาวกวน ความคิดเชื่องช้า ไม่รู้สึกหิวชีพจรเต้นช้า

โทษทางกฎหมาย

 

จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

6. สารยาเสพติดอันตราย?มอร์ฟีน (Morphine)

มอร์ฟีนเป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ของฝิ่นที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นตัวการที่ออกฤทธิ์กดประสาท

มอร์ฟีนเป็นผงสีขาว?หรือเทาเกือบขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขม มีฤทธิ์สูงกว่าฝิ่น เสพติดได้ง่าย มีลักษณะเป็นเม็ด เป็นผง และเป็นก้อน หรือละลาย

บรรจุหลอดสำหรับฉีด นำเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีฉีดเป็นส่วนมาก

?มอร์ฟีนใช้เป็นยาหลักหรือยามาตรฐานของยาแก้ปวด?ยาจำพวกนี้กดระบบประสาทส่วนกลาง ลดความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้รู้สึกง่วงหลับไป และลดการทำงานของร่างกาย

อาการข้างเคียงอื่น ๆ ก็คือ อาจทำให้คลื่นเ***ยนอาเจียน ท้องผูก เกิดอาการคันหน้า ตาแดงเพราะโลหิตฉีด ม่านตาดำ

หดตีบ และหายใจลำบาก

 

ฤทธิ์ทางเสพติด

 

มอร์ฟีนออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทั้งร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกาย คลื่นเ***ยนอาเจียน?ท้องผูก เกิดอาการคันหน้า ตาแดง ซึม ง่วงนอน ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ร่างการทรุดโทรม สมองมึนชา สติปัญญาเสื่อมโทรม

โทษทางกฎหมาย

 

จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

10 สารยาเสพติดอันตราย teen.mthaipic_content_hori_8

7. สารยาเสพติดอันตราย?กัญชา (Cannabis) :

กัญชา มีลักษณะใบจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 5-8 แฉกคล้ายใบมันสำปะหลังที่ขอบใบทุกใบจะมีรอยหยัก?ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ ตามง่ามของกิ่งและก้าน ส่วนที่คนนำมาเสพได้แก่ส่วนของกิ่ง ก้าน ใบ?และยอดช่อดอกกัญชา

โดยนำมาตากหรืออบแห้ง แล้วบดหรือหั่นให้เป็นผงหยาบๆ จากนั้นจึงนำมายัดไส้บุหรี่สูบ ยังอาจพบในรูปของ ?น้ำมันกัญชา? (Hashish Oil) ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ

ฤทธิ์ทางเสพติด

 

กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษ ที่ออกฤทธิ์หลายอย่างต่อระบบประสาทส่วนกลาง คือ ทั้งกระตุ้นประสาทกดและหลอนประสาท สารออกฤทธิ์ที่อยู่ในกัญชามีหลายชนิด แต่สารที่สำคัญที่สุดที่มีฤทธิ์ต่อสมองและทำให้ร่างกาย อารมณ์ และจิตใจเปลี่ยนแปลงไป

ในเบื้องต้นจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ผู้เสพตื่นเต้น ช่างพูด และหัวเราะตลอดเวลา ต่อมาจะกดประสาท ทำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายเมาเหล้าอย่างอ่อนๆ?เซื่องซึม และง่วงนอน หากเสพเข้าไปในปริมาณมากๆ จะหลอนประสาททำให้เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ความคิด?สับสน ควบคุมตนเองไม่ได้??ทำลาย

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำลายสมอง ปอด

โทษทางกฎหมาย

 

จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

8. สารยาเสพติดอันตราย?กระท่อม (Kratom)

กระท่อม เป็นพืชเสพติดชนิดหนึ่ง ส่วนมากพบในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศอินเดียและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ประเทศไทย ลักษณะเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางมีแก่นเป็นเนื้อไม้แข็ง

ใช้ส่วนของใบเป็นสิ่งเสพติด ลักษณะใบคล้ายกระดังงาหรือใบฝรั่งต้นหนาทึบ ต้นกระท่อมมี 2 ชนิด คือ?ก้านเขียวและก้านแดง

ฤทธิ์ในทางเสพ?

 

ในใบกระท่อมมีสารไมตราจัยนินที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย มีอาการเสพติด?ทางจิตใจ อาจมีอาการขาดยาทางร่างกายแต่ไม่รุนแรง ทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทนแดดไม่รู้สึกร้อน ทำให้?ผิวหนังไหม้เกรียมมีอาการมีนงง ปากแห้ง นอนไม่หลับ ท้องผูก แต่จะรู้สึกหนาวสั่น เมื่อมีอากาศชื้น หรือเมื่อฝนฟ้า?คะนอง ร่างการทรุดโทรม มีอาการประสาทหลอน จิตใจสับสน

โทษทางกฎหมาย

 

กระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

10 สารยาเสพติดอันตราย teen.mthaiX11760231-1

9. สารยาเสพติดอันตราย?เห็ดขี้ควาย (Magic Mushroom) :

เห็ดขี้ควายเป็นเห็ดพิษซึ่งขึ้นอยู่ตามกองมูลควายแห้ง สีของเห็ดจะมีสีเหลืองซีด คล้ายสีฟางแห้ง บนหัวของร่ม?จะมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำบริเวณก้าน (Stalk) บริเวณใกล้ตัวร่มจะมีแผ่นเนื้อเยื่อบางๆ สีขาว แผ่ขยายออก?รอบก้าน แผ่นนี้มีลักษณะคล้ายวงแหวน

ฤทธิ์ในทางเสพติด?

 

ในเห็ดขี้ควายมีสารออกฤทธิ์ทำลายประสาทอย่างรุนแรงคือ ไซโลซีน และ ไซโลไซบีน ผสมอยู่ ซึ่งออกฤทธิ์?หลอนประสาท เมื่อบริโภคเข้าไปจะทำให้มีอาการเมา เคลิบเคลิ้มและบ้าคลั่งในที่สุด หากบริโภคเข้าไปมากๆ?หรือผู้ที่บริโภคเข้าไปมีภูมิต้านทานน้อย อาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

โทษทางกฎหมาย?

 

เห็ดขี้ควายจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522

10. สารยาเสพติดอันตราย?ยาเค (ketamine)

ยาเค มาจากคำว่า เคตามีน (ketamine) หรือชื่อทางการค้าว่า เคตาวา (Ketava) หรือเคตาลา (Ketalar)?หรือคาสิบโชล

ซึ่งตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 เป็นวัตถุออกฤทธิ์ใน?ประเภท 2 หมายถึง ยาที่มีอันตรายสูงที่แพทย์จะจ่ายให้กับผู้ป่วย เฉพาะเมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น

สาเหตุที่ทำให้ยาเคกลายเป็นปัญหา เพราะวัยรุ่นบางกลุ่มได้นำยาเคมาใช้เป็นสิ่งมึนเมา โดยนำมาทำให้เป็นผง?นำมาสูดดมเพื่อให้เกิดอาการมึนเมา และมักพบว่ามีการนำยาเค มาใช้ร่วมกับยาเสพติดร้ายแรงชนิดอื่น เช่น ยาอี และโคเคน

ฤทธิ์ในทางเสพติด

 

ยาเค เป็นยาที่ออกฤทธิ์หลอนประสานอย่างรุนแรง เมื่อเสพ?เข้าไปจะรู้สึกเคลิบเคลิ้ม (Euphoria) รู้สึกว่าตนเองมีอำนาจพิเศษ (Mystical) มีอาการสูญเสียกระบวนการ?ทางความคิด ความคิดสับสน การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภาพ แสง สี เสียงจะเปลี่ยนแปลงไป

ตาลาย ร่างกายเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน หากใช้ปริมาณมากจะเกิดการติดขัดในการหายใจ ?หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะปรากฏอาการเช่นนี้อยู่บ่อย ๆ เรียกว่า Flashback ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว?จะทำให้ผู้เสพประสพกับสภาวะโรคจิต และกลายเป็นคนวิกลจริตได้

ความคิดสับสน ตาลาย หูแว่ว การรับรู้และ?การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไป การเคลื่อนไหวของร่างกายไม่สัมพันธ์กัน

 
 
  โดย : ดร. ศิรพงศ์ รักต์เธียรธรรม   เข้าชม : 234 ครั้ง
วันที่ : เสาร์ ที่ 10 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2560
 


    กำลังแสดงหน้าที่ 1  |  1





Re หัวข้อ :
รูปประกอบ : Limit 100 kB
รายละเอียด
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :


ข่าวประชาสัมพันธ์
 
ฐาน Salary_Web เดือนมกราคม 2567
ฐาน Salary_Web เดือนมกราคม 2567 ฐาน Salary_Web เดือนมกราคม 2567
ฐาน Salary_Web เดือนกุมภาพันธ์ 2567
ฐาน Salary_Web เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ฐาน Salary_Web เดือนกุมภาพันธ์ 2567
ฐาน Salary_Web เดือนมีนาคม 2567
ฐาน Salary_Web เดือนมีนาคม 2567 ฐาน Salary_Web เดือนมีนาคม 2567
ฐาน Salary_Web เดือนเมษายน 2567
ฐาน Salary_Web เดือนเมษายน 2567 ฐาน Salary_Web เดือนเมษายน 2567
ฐาน SALARY_WEB ประจำเดือนธันวาคม 2566
ฐาน SALARY_WEB ประจำเดือนธันวาคม 2566 ฐาน SALARY_WEB ประจำเดือนธันวาคม 2566
ฐาน SALARY_WEB ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566
ฐาน SALARY_WEB ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 ฐาน SALARY_WEB ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566
Tag Cloud
 
ยาเสพติด-เว็บบอร์ด กระดานถาม-ตอบ
Copyright© 2011 All rights reserved. Powered by : maxsite 1.10
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33